ศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ NANMEEBOOKS Hand-on Science Center in association with

Mr. Langkitsch เยี่ยมชมและให้

คำแนะนำ ศูนย์วิทยาศาสตร์

นานมีบุ๊คส์ PHÄNOMENTA

ศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ PHÄNOMENTA ประเทศไทย เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการแนว Hands-on ซึ่งประกอบด้วยสถานีการทดลองที่พัฒนาจากต้นแบบสถานีการทดลองจากมูลนิธิ PHÄNOMENTA ประเทศเยอรมัน กิจกรรมการทดลองด้วยตนเองจะกระตุ้นความคิดผู้เข้าเยี่ยมให้เข้าใจในหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างยั่งยืนและต่อยอดสู่ความเข้าใจในปรากฎการณืที่คล้ายๆกันได้

กิจกรรมการทดลองในแต่ละสถานีจะไม่มีคำตอบให้ผู้เข้าเยี่ยมชม คุณจะพบคำตอบหลังจากที่ทำการทดลอง วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์แนวทางเดียวกันกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วๆไป และพบกับความประหลาดใจในปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น

Mr. Hans-Henning Langkitsch

ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์

PHÄNOMENTA ประเทศเยอรมนี

ความเป็นมาของศูนย์วิทยาศาสตร์

ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งแรกตั้งขึ้นในทศวรรษ 1960 

โดย แฟรงก์ ออปเพนไฮเมอร์ 

(FrankOppenheimer)

ฮูโก คือเคลเฮาส์ 

(Hugo Kükelhaus) 

ศิลปินและนักปรัชญาชาวเยอรมัน

ศูนย์วิทยาศาสตร์กำลังเป็นที่แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ แนวคิดของศูนย์วิทยาศาสตร์จะเน้นให้ผู้ชมได้เรียนรู้แนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมลักษณะ Hands-on คือได้ลงมือปฏิบัติและได้สัมผัสสื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจโลกของวิทยาศาสตร์ได้อย่างแจ่มแจ้งแนวคิดนี้ เป็นที่ยอมรับและถูกยกระดับให้มีความสำคัญมากขึ้น จึงทำให้เกิดศูนย์วิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ขึ้นหลายศูนย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ PHÄNOMENTA ในลือเดนไชด์เป็นหนึ่งในศูนย์วิทยาศาสตร์ที่เป็นแบบ Hands-on เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของรัฐนอร์ทไรน์ เวสต์ฟาเลีย (North Rhine-Westphalia) ซึ่งตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 

ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งแรกตั้งขึ้นในทศวรรษ 1960 โดย แฟรงก์ ออปเพนไฮเมอร์ (Frank Oppenheimer) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เปิดทำการครั้งแรกที่เมืองซานฟราน-ซิสโก ภายใต้ชื่อ Explora-torium ออปเพนไฮเมอร์เป็นครูสอนฟิสิกส์ระดับมัธยมในเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง เขาต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง แต่ขาดแคลนอุปกรณ์ในการทดลอง เขาและนักเรียนต้องช่วยกันหาวัสดุจากกองขยะมาทำเป็นอุปกรณ์การทดลอง ต่อมาเขาได้มาเป็นครูสอนฟิสิกส์ใน University of Colorado และได้พัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยการทดลอง เพื่อช่วยครูผู้สอนวิชาฟิสิกส์เกือบ 100 การทดลอง พร้อมทั้งได้รวบรวมจัดทำเป็นหนังสือชื่อ Library of Experiments

ศูนย์วิทยาศาสตร์ Exploratorium ที่สร้างขึ้นโดยออปเพนไฮเมอร์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจที่เขาได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ Deutsches Museum ในมิวนิก ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ในลักษณะ Interactive คือผู้ชมจะได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ฮูโก คือเคลเฮาส์ (Hugo Kükelhaus) ศิลปินและนักปรัชญาชาวเยอรมัน มีความคิดที่จะสร้างรากฐานการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์และการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเช่นกัน ดังนั้นเขาจึงได้สร้าง ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมชาติ และกฎของธรรมชาติด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วน และในปี ค.ศ. 1967 เขาได้นำอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นทั้งหมดไปแสดงในงานนิทรรศการระดับโลกที่กรุงมอนทรีออล และในงานนิทรรศการสัญจรหลายแห่งในประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ในปีต่อ ๆ มา ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกที่สำคัญอย่างยิ่งในการใช้หลักการสอนแบบ “Hands-on”

ออปเพนไฮเมอร์ และคนในอังกฤษและอเมริกายังไม่รู้จักงานที่ได้รับอิทธิพลจากการสอนแบบมนุษยปรัชญา (Anthroposophy)1 ของฮูโก ดังนั้น แนวคิดของออปเพนไฮเมอร์จึงเป็นแนวคิดแรกที่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้มีผู้ทำตามในประเทศแถบแองโกล-แซกซัน สำหรับความคิดเกี่ยวกับศูนย์วิทยาศาสตร์แบบ Exploratorium นั้นสามารถลงหลักปักฐานในเยอรมนีได้ค่อนข้างช้า

อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1982 กระแสนี้แพร่หลายไปทั่วเยอรมนี ในกรุงเบอร์ลินมีการเปิดนิทรรศการ Interactive แห่งแรกในแผนกหนึ่งของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและการคมนาคม จากจุดนี้เองทำให้เกิดความคิดในการสร้างพื้นที่การทดลองขนาดใหญ่ขึ้น ต่อมาศาสตราจารย์ฟลีเซอร์ได้พัฒนา PHÄNOMENTA และนำมาสร้างเป็นนิทรรศการภายในมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1986 อีกไม่กี่ปีต่อมา จึงได้สร้างอาคาร PHÄNOMENTA ที่เมืองเฟลนส์บูร์ก ทว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายในเยอรมนีนัก

ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 ทีมงานอาสาเล็ก ๆ ชาวลือเดนไชด์ได้ใช้ PHÄ-NOMENTA ที่เมืองเฟลนส์บูร์กเป็นแม่แบบ และผลักดัน PHÄNOMENTA ให้เกิดขึ้นที่เมืองลือเดนไชด์ โดยประสบความสำเร็จอย่างมาก ในปีต่อ ๆ มาเมื่อทางห้องปฏิบัติการของศูนย์ได้คิดการทดลองใหม่มาเสริมให้มากขึ้นประกอบกับผู้ก่อตั้งและผู้สนับสนุนต่างก็ทำงานอย่างหนัก PHÄNOMENTA ลือเดนไชด์จึงประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม มีผู้ชมหลั่งไหลเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปี ค.ศ. 2000 มีการต่อเติมอาคารใหม่ให้ทันสมัยมากขึ้น และกลายเป็นรูปลักษณ์ที่แสดงความเป็น PHÄNOMENTA ในปัจจุบัน

 

 แฟรงก์ ออปเพนไฮเมอร์ 

(FrankOppenheimer)

นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน

Mr. Hans-Henning Langkitsch

ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์

PHÄNOMENTA ประเทศเยอรมนี

ปัจจุบัน PHÄNOMENTA มีผู้เข้าชมกว่าปีละ 100,000 คน จากแถบอุตสาหกรรมรูร์และเขตไรน์แลนด์ ลือเดนไชด์ยังเชื่อมโยงผู้เข้าชมจากทั่วเยอรมนีและต่างประเทศให้เข้าถึงความสนุกสนานกับการทดลองทางฟิสิกส์ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ NANMEEBOOKS Hand-on Science Center in association with PHA-NOMENTA  เรียนรู้แนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วยการค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การอ่าน และการคิดวิเคราะห์ ด้วยการทำกิจกรรม Hands-on คือ ลงมือปฏิบัติ สัมผัสสื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสถานีการทดลอง 41 สถานี

สถานีที่ 1

สถานีที่ 2

สถานีที่ 3

สถานีที่ 4

Concave Mirror

กระจกวิเศษ

Target-Swirl

ยิงเป้า

Hand Battery

มือไฟฟ้า

Duck Under Pressure

เป็ดอ้วน-ผอม

สถานีที่ 5

สถานีที่ 6

สถานีที่ 7

สถานีที่ 8

Turning Head

ลองมองดูสิ

The Room of Mirrors

ภาพสะท้อนไม่รู้จบ

Mirror Flier

คนเหาะ

Touching Track

สัมผัสลึกลับ

สถานีที่ 9

สถานีที่ 10

สถานีที่ 11

สถานีที่ 12

Resonance Tubes

ท่อชวนคิด

Sticky Air

กาวอากาศ

Cylindrical Mirror

ภาพมหัศจรรย์

Bernoulli Ball

ลูกบอลกลางอากาศ

สถานีที่ 13

สถานีที่ 14

สถานีที่ 15

สถานีที่ 16

B.GRIMM POWER CITY

เมืองของบี.กริมเพาเวอร์

Rotary Image

ภาพพิศวง

Rotary Image

ภาพพิศวง

Rotary Image

ภาพพิศวง

สถานีที่ 17

สถานีที่ 18

สถานีที่ 19

สถานีที่ 20

Plasma Sphere

พลาสม่า

Frozen Shadows

เงาปริศนา

Distorting mirror

กระจกพิศวง

Stereo Hearing

สเตอริโอ

สถานีที่ 21

สถานีที่ 22

สถานีที่ 23

สถานีที่ 24

The Big Race

ทางด่วน

Walk Across the Arch

สะพานโค้ง

Newton's Cradle

ลองปล่อยดู

Building Bricks

กายกรรมท่อนไม้

สถานีที่ 25

สถานีที่ 26

สถานีที่ 27

สถานีที่ 28

Kaleidoscope

คาไลโดสโคบ

Warm or Cold

อุ่น หรือ เย็น

TOWER OF MIRRORS

ปริศนากระจกเงา

STAR IN THE MIRROR

วาดดาว

สถานีที่ 29

สถานีที่ 30

สถานีที่ 31-32

สถานีที่ 33

WATER-BALL-DANCE

ระบำลูกบอล

The Effect of Polarization

มหัศจรรย์แสงสี

Sailwing Shape

ใบเรือแบบไหนไปเร็วกว่ากัน

Boat Racing

แข่งเรือ

สถานีที่ 34

สถานีที่ 35

สถานีที่ 36

สถานีที่ 37

Water Wheel

กังหันน้ำ

The Archimedes’ screw

เกลียวอาร์คิมีดีส

Pendulum Table

เพนดูลัมวาดลวดลาย

Plasma – Effect

จานพลาสม่า

สถานีที่ 38

สถานีที่ 39

สถานีที่ 40

สถานีที่ 41

Pendulum

เพนดูลัม

Pulley System

รอก 3 ระบบ

ELECTRICITY BICYCLE GENERATOR

เพนดูลัมวาดลวดลาย

Music Wheel

วงล้อเสียงดนตรี

บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด เลขที่ 11 ซอยสุขุมวิท 31 (สวัสดี) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ: คุณนิตยา โทร.0-2662-3000 ต่อ 4425  มือถือ 061-823-4982 
e-mail: nittaya_k@nanmeebooks.com